วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม




ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตนั้น มีสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรโดยทรัพยากรโดยขาดการอนุรักษ์และการใช้เทคโนโยลีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เหมาะสมต่อทรัพยากร
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการใช้ทรัพยากร
สภาวะวิกฤตของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรมากเกินกำลังผลิต และการฟื้นคืนสภาพของระบบสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมต่อทรัพยากรและไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงมากขึ้น เกิดความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิต

ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ
ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม สร้างข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ในขณะนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย ทั้งส่วนราชการและเอกชนจะต้องหันมาสนใจ และร่วมมือกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งในเมืองและในชนบท และการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไปตามหลักวิชาการ จัดประเภททรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็น 3ประเภท ที่สำคัญดังนี้
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด หรือสูญหายไป เราสามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ได้อย่างไม่จำกัด เนื่องจากธรรมชาติสร้างให้มีใช้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ บรรยากาศน้ำที่อยู่ใน วัฎจักร ซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำ กล่าวคือ เมื่อน้ำตามที่ต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปบนบรรยากาศเมื่อกระทบกับความเย็นก็จะ รวมตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบกับความเย็น ก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ ลำธาร และไหลออกสู่ทะเล เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอทรัพยากรประเภทนี้รวมทั้งแสงแดด ลม และทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ อีกด้วย
2.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดแต่สร้างทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น ป่าไม้ ดิน ที่ดิน แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า เป็นต้น ทรัพยากรประเภทนี้เมื่อใช้แล้วจะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ อย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์ก็ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ควรใช้มากเกินต้องการและเกินกว่าที่ธรรมชาติ จะสร้างขึ้นมาทดแทนได้ มิฉะนั้นทรัพยากรชนิดนั้นก็จะร่อยหรอ เสื่อมโทรมลง และสูญสิ้นไป การเสื่อมโทรมและสูญสิ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรชนิดอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์ และอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
3.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่มีการสร้างทดแทนได้ เช่น แร่น้ำมัน ที่ดิน ในสภาพธรรมชาติ แหล่งที่เหมาะสมสำหรับศึกษาธรรมชาติแหล่งธรรมชาติที่หาดูได้ยาก แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งสภาพธรรมชาติใดๆ ที่ถูกใช้ไปแล้วก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เหมือนเดิมอีก เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ก็จะหมดสิ้นไป โดยธรรมชาติไม่อาจจะสร้างขึ้นทดแทนได้ในชั่วอายุของคนรุ่นปัจจุบันทรัพยากรประเภทนี้ควรใช้โดยประหยัดที่สุด คุ้มค่า และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรประเภทที่ดินสวยงามในสภาพธรรมชาติ เช่น แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ ทำให้มีรูปร่างลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวผู้ไปเยี่ยมชมมากมาย เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาไว้ ให้คงสภาพตามธรรมชาติให้นานที่สุด
หลักการและวิธีเลือกเทคโนโลยีในการใช้ทรัพยากร
เนื่องจากทรัพยากรมีข้อจำกัดในแต่ละประเภทจะทำให้เกิดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงมีหลักการดังนี้
1.ต้องเข้าใจระบบทรัพยากร ระบบสิ่งแวดล้อมที่จะใช้
2.แผนการใชทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบ
3.กำหนดขั้นตอนการใช้ การผลิตให้ชัดเจน
4.เลือกและกำหนดเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทรัพยากรทุกขั้นตอน
5.ต้องประเมินของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการนำเทคโนโยลีมาใช้กับทรัพยากรทุกขั้นตอน
6.ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสังคมที่จะนำเทคโนโลยีนั้นไปใช้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในประเทศกำลังพัฒนาหรือชนบทที่ยังห่างไกลความเจริญในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอาจไม่มีทุนทรัพย์หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพียงพอที่จะใช้และบำรุงรักษาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากๆ
ในทางปฏิบัตินั้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมมักหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ระดับเทคโนโลยีที่เรียบง่ายและอ่อนโยน(ต่อสิ่งแวดล้อม)ที่สุดในการบรรลุจุดประสงค์ของชุมชนนั้นๆ ในทางกลับกันเทคโนโลยีที่มีราคาแพงอาจเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในชุมชนร่ำรวยที่สามารถซื้อและบำรุงรักษามันได้ ระบบสื่งแวดล้อมซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันดังนี้
1.ระบบเทคโนโลยีการใช้โดยการสัมผัส คือการใช้ทีปราศจากรบกวนสิ่งแวดล้อม โดยไม่นำออกและไม่นำเข้า
2.รบบเทคโนโลยีการใช้พื้นที่โดยการนำโครงการพัฒนา
3.ระบบเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวทรัพยากรออกจากระบบ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีการบำบัด / กำจัดมลพิษ
เทคโนโลยีการบำบัด / กำจัดมลพิษ คือการนำเทคโนโลยีประเภทและลักษณะต่างๆมาใช้ร่วมกันในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์
ของเสีย หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งการตกตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
มลพิษสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีมลสาร ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
ของเสียและมลพิษ สามารถแบ่งได้ ดังนี้คือ
1. ของเสียและมลพิษที่เป็นของแข็ง เกิดจากเศษเหลือใช้ หรือกากของเสีย เช่น ขยะมูลฝอย กากสารพิษ
2. ของเสียและมลพิษที่เป็นของเหลว เป็นสารพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น น้ำมัน จะเคลือบผิวน้ำทำให้พืชน้ำไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
3. ของเสียและมลพิษที่เป็นก๊าซ มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไอระเหย
4. ของเสียและมลพิษที่มีสมบัติทางฟิสิกส์ ส่วนใหญ่จะสัมผัสได้โดยตรง เช่น เสียง รบกวน กัมมันตรังสี UV
5. มลพิษทางสังคม เป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรง โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ เช่น ปัญหาการเพิ่มประชากร ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ




ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ     ....................................................................................

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา 
แล้ว นั่นคือได้ผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เรียกว่า สารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีสารสนเทศ



การที่จะได้ผลลัพธ์ จะต้องทำการป้อนข้อมูลดิบที่เป็น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ
เคลื่อนไหว หรือเสียงต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้ คือสารสนเทศ
ที่สามารถนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
................................................................................................................................................................

การใช้เทคโนโลยีพัฒนาเศรษฐกิจ


การใช้เทคโนโลยีพัฒนาเศรษฐกิจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจ

              เทคโนโลยีเพื่อการผลิต หมายถึง การนำความรู้  วิทยาการ และประสบการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งการคิดค้นหาวิธีการนำทรัพยากรมาใช้ในด้านใหม่ๆ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            ประเทศไทยเรามีวัตถุดิบในการผลิตจำนวนมาก  เนื่องจากประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ป่าไม้ และแร่ธาตุ หากเราใช้ทรัพยากรไม่ระมัดระวัง ทรัพยากรอาจหมดสิ้นหรือเสื่อมค่าได้  ผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะใช้เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพและตรงตามต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

สาเหตุที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการ

            สาเหตุที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิต มีดังนี้
            1. เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น ลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิตลง
            2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง
            3.  เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน  เป็นการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีแบบให้เลือกหลากหลาย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพขึ้น
            4. เพื่อลดแรงงานหรือกำลังคนทำงานได้น้อยลง

                                    

การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการ

            การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการได้แก่
            1. การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า  ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลารวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก
            2. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด
            3. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและการให้บริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดของสินค้าได้มากขึ้นหรือสามารถสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว
            4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ รวดเร็ว เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเพื่อจัดเก็บเอกสารหรือค้นหาข้อมูล เป็นต้น
            5. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้กระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตรวดเร็วขึ้น หรือขนส่งสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

 

ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิต

            ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิต มีดังนี้
            1. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้สินค้าและบริการมีคุณภาพได้มาตรฐานตามแบบสากล  กล่าวคือ มีการกำหนดระดับคุณภาพ  จัดทำมาตรฐาน  ควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพการใช้งานของสินค้า
            2. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้เกิดความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน  ทำให้พนักงานได้ผลงานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง
            3. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้หน่วยธุรกิจหรือรัฐบาลมีผลกำไรเพิ่มขึ้นจากการประกอบการ ทำให้ภาคการผลิตเกิดความมั่นคง ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค  กล่าวคือ  ถ้าหน่วยธุรกิจมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคง ส่งผลให้พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงในการทำงาน  อัตราการว่างงานลดลง รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น

                                    


ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตและบริการ

            ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี มีดังนี้
            1. เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  กล่าวคือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดกากหรือของเสียจากการผลิต พร้อม ๆ กับการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ  ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตต่างๆ  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดปัญหาภาวะเรือนกระจก กระทบต่อระบบนิเวศของมนุษย์  หรือปัญหาการกำจัดกากสารนิวเคลียร์   ปัญหาการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำทิ้ง หรือมลพิษทางอากาศของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งละลายปนมากับฝน กลายเป็นฝนกรด ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์
            2. เกิดผลกระทบต่อดุลการค้า กล่าวคือ ในยุคของการแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาด ผู้ผลิตแต่ละรายต่างเร่งเพิ่มผลผลิตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้  ประเทศกำลังพัฒนาต้องพึ่งพา เทคโนโลยี หรือ เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขาดดุลการค้า

            3. เกิดผลกระทบต่อการบริโภคนิยม กล่าวคือ  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในด้านสินค้าและบริการมีคุณภาพสูง ราคาถูก  มีสินค้าให้เลือกมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน  จะเกิดผลกระทบต่อการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของผู้บริโภค ที่ใช้สอยเกินพอดี เพื่อให้ทันต่อรุ่นหรือแบบที่เปลี่ยนแปลงไป  เกิดความไม่รู้จักพอของผู้บริโภค มีการบริโภคนิยมมากขึ้น 

เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย

 เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

                   --------------------------------------------------------------------------------
               เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทนยังมีระดับต่ำและการเผยแพร่ไปยังผู้ใช้เทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไชความรู้พื้นฐานหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของเทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่4 และรัชกาลที่5 แห่งราชวงค์จักรี ประเทศไทยได้รับวิทยาการตะวันตกเช่นกิจการรถไฟ , ไปรษณีย์โทรเลข
โรงสี, โรงเลื่อยจักร โรงพิมพ์,โรงไฟฟ้าเป็นต้น ต่อเกิดสงครามโลกที่2 ประเทศไทยขาดแคลนสินค้ามาก ประทศไทยได้คณะกรรมการสร้างอุตสหกรรมแห่งชาติและคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการงานการผลิตสิ่งของจำเป็นสำหรับการครองชีพของประชาชน ในปีพ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ออก
พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สิทธิพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ที่จะลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศ

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับชนิดโครงการที่ต้องการพัฒนา ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยี 5 แบบคือ
1. เทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา
2. เทคโนโลยีด้านเทคนิคการผลิตและการควบคุมคุณภาพ
3.เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต
4.เทคโนโลยีด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพ
5.เทคโนโลยีด้านการจัดการต้นทุนมาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในประทศไทยมีความก้าวหน้าที่นับว่าเป็นความสำเร็จ 3 ประการคือ
1. การสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
3.การเตรียมบุคลากรด้านวืทยาสาตร์และเทคโนโลยี
ปัญหาของการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทยปัญหาสำคัญที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ถึงจุดที่ใช้งานได้ 5 ประการตามความสำคัญคือ
1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพ
2. การขาดการวางแผนและนโยบาย
3.การขาดเครื่องมือและเงินทุน
4. การขาดองค์กรและระบบวิจัยและพัฒนาที่สมบรูณ์
5.การขาดองค์ความรู้อันเป็นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยี
เป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตมีดังนี้
1. กำหนดให้มีมาตรการเพิ่มนักวิจัยของประเทศเป็น 3.5 คนต่อประชาชน 10,000คนในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
2.เสริมสร้างความเชื่อมโยงระบบวิจัยและพัฒนาตามความสำคัญ
3.ดำเนินการให้มีการพัฒนาวิชาชีพนักวิจัยให้สามารถยึดเป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้า
4.เพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงการบริการของภาครัฐ
5.กำหนดให้มีมาตรการภาษี การเงิน และการสนับสนุนเทคนิคอย่างจริงจัง
6.กระตุ้นให้มีความร่วมมือในการการวิจัยและพัฒนาในลักษณะกลุ่ม
7.กำหนดเป้าหมายค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อการวิจัยและพัฒนา
8. กำหนดเป้าหมายการวิจัยและพัฒฯใน 5 สาขาหลัก
9.กำหนดให้มีหรือปรับปรุงองค์กรและกลไกที่ทำหน้าที่วิเคราะห์
นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในอนาคตมีด้งนี้
1. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องอยู่ในภาคการผลิต
2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมและพัฒนาภูมืปัญญาท้องถิ่น
3.การใช้วิทยาศาสตร์เพื่ออยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
4.การอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชน ,ภาครัฐ , เอกชนและประชาชน
5.บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์
      
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้

  1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
  2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
  3. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
 5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
 6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร

4. บทบาทด้านผู้เรียนจาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ

ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

  


                                                                                                                                                              จากความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์" และความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร จะผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยนำไฟฟ้ากระแสมาใช้ได้อย่างไร เหล่านี้ เป็นต้น
        จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ                       ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อกันเลย

ดนตรีกับอิเล็กทรอนิกส์


ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์





ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า ตัวอย่างเช่นเสียงที่เกิดจาก Tel harmonium, Hammond organ และกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนดนตริอีเล็กทรอนิกส์แท้ ๆ สามารถใช้เครื่อง Thereminเครื่องสังเคราะห์เสียง และ
ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบในดนตรีอาร์ตตะวันตก ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 และได้รับความนิยมในเวลาต่อมา ในปัจจุบันดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ใช้หลากหลายแนวเพลง ตั้งแต่ดนตรีอาร์ตทดลอง หรือดนตรีป็อป อย่างเช่น ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์