วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย

 เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

                   --------------------------------------------------------------------------------
               เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทนยังมีระดับต่ำและการเผยแพร่ไปยังผู้ใช้เทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไชความรู้พื้นฐานหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของเทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่4 และรัชกาลที่5 แห่งราชวงค์จักรี ประเทศไทยได้รับวิทยาการตะวันตกเช่นกิจการรถไฟ , ไปรษณีย์โทรเลข
โรงสี, โรงเลื่อยจักร โรงพิมพ์,โรงไฟฟ้าเป็นต้น ต่อเกิดสงครามโลกที่2 ประเทศไทยขาดแคลนสินค้ามาก ประทศไทยได้คณะกรรมการสร้างอุตสหกรรมแห่งชาติและคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการงานการผลิตสิ่งของจำเป็นสำหรับการครองชีพของประชาชน ในปีพ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ออก
พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สิทธิพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ที่จะลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศ

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับชนิดโครงการที่ต้องการพัฒนา ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยี 5 แบบคือ
1. เทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา
2. เทคโนโลยีด้านเทคนิคการผลิตและการควบคุมคุณภาพ
3.เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต
4.เทคโนโลยีด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพ
5.เทคโนโลยีด้านการจัดการต้นทุนมาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในประทศไทยมีความก้าวหน้าที่นับว่าเป็นความสำเร็จ 3 ประการคือ
1. การสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
3.การเตรียมบุคลากรด้านวืทยาสาตร์และเทคโนโลยี
ปัญหาของการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทยปัญหาสำคัญที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ถึงจุดที่ใช้งานได้ 5 ประการตามความสำคัญคือ
1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพ
2. การขาดการวางแผนและนโยบาย
3.การขาดเครื่องมือและเงินทุน
4. การขาดองค์กรและระบบวิจัยและพัฒนาที่สมบรูณ์
5.การขาดองค์ความรู้อันเป็นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยี
เป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตมีดังนี้
1. กำหนดให้มีมาตรการเพิ่มนักวิจัยของประเทศเป็น 3.5 คนต่อประชาชน 10,000คนในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
2.เสริมสร้างความเชื่อมโยงระบบวิจัยและพัฒนาตามความสำคัญ
3.ดำเนินการให้มีการพัฒนาวิชาชีพนักวิจัยให้สามารถยึดเป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้า
4.เพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงการบริการของภาครัฐ
5.กำหนดให้มีมาตรการภาษี การเงิน และการสนับสนุนเทคนิคอย่างจริงจัง
6.กระตุ้นให้มีความร่วมมือในการการวิจัยและพัฒนาในลักษณะกลุ่ม
7.กำหนดเป้าหมายค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อการวิจัยและพัฒนา
8. กำหนดเป้าหมายการวิจัยและพัฒฯใน 5 สาขาหลัก
9.กำหนดให้มีหรือปรับปรุงองค์กรและกลไกที่ทำหน้าที่วิเคราะห์
นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในอนาคตมีด้งนี้
1. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องอยู่ในภาคการผลิต
2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมและพัฒนาภูมืปัญญาท้องถิ่น
3.การใช้วิทยาศาสตร์เพื่ออยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
4.การอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชน ,ภาครัฐ , เอกชนและประชาชน
5.บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น